พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องและควรรู้
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
  • พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861
“อันว่า สัญญาประกันภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญาและบุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกัน”

สรุป คือ ผู้รับประกันภัย จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดเหตุที่ตรงกับในสัญญากรมธรรม์ภัย และผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยปะกันให้กับผู้รับประกันภัย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 869
“‘วินาศภัย’ หมายถึง ความเสียหายใดๆบรรดาจะพึงปรารถนาเป็นเงินได้ ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ให้หมายความรวมถึงความเสียหายในสิทธิประโยชน์หรือรายได้ด้วย”

สรุป คือ วินาศภัย คือการประกันภัยทุกประเภทนอกเหนือจากชีวิตและสามารถประมาณค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น รถชน ไฟไหม้ จะสามารถประเมินค่าความเสียหายได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
1. การโอนเปลี่ยนมือวัตถุประกันภัย
    การโอนวัตถุที่เอาประกันภัยโดยสัญญานั้น เป็นการโอนจากผู้เอาประกันภัยโดย ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้โอน ซึ่งกรณีนี้หมายความถึงผู้เอาประกันภัยต้องเป็นเจ้าของทรัพย์อยู่ในขณะที่มีการโอนวัตถุที่เอาประกันภัย ไม่กินความถึงกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีแต่เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น
2. การสิ้นผลบังคับของสัญญาประกันภัย แบ่งออกเป็น 3 แบบ
    a. การสิ้นผลตามกฎหมาย
      โมษะ คือ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
      โมฆียะ คือ นิติกรรมที่ถือว่าไม่ได้มีอะไรกันมาตั้งแต่ต้น โดยหากเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาให้คืนกลับฐานนะเดิมเช่น สัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะก็คือไม่มีการทำสัญญากันเลย ให้ผู้ซื้อคืนทรัพย์ให้ผู้ขาย และให้ผู้ขายคืนราคาให้แก่ผู้ซื้อ คือถือว่าไม่ได้มีการทำสัญญากันเกิดขึ้นเลย และที่สำคัญคือนิติกรรมที่เป็นโมฆะจะไม่สามารถให้สัตยาบันได้
    b. การสิ้นผลตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัย คือ “วันเวลา” ที่กำหนดให้สิ้นสุดในสัญญาประกันภัย
    c. การสิ้นผลโดยการบอกเลิกสัญญา
3. การประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม
    ต้องเป็นเหตุที่เกิดจากวินาศภัยเท่านั้น และเราเป็นฝ่ายผิด เช่นเราขับรถไปชนคนอื่น ทางประกันจะจ่ายเงินให้คนที่โดนชนก่อนแล้วจะมาเก็บเงินกับเราทีหลัง
4. การยกเว้นความผิดของผู้รับประกันภัย
    โดยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
    i) โดยผลของสัญญา : มีข้อยกเว้นระบุไว้ในสัญญา
    ii) โดยผลของกฎหมาย : ถึงแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์แต่บางข้อระบุไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
5. อายุความ
    เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและค่าเบี้ยประกันภัย คือสามารถเรียกร้องต่อกันได้ในกรณีเบี้ยวภายในระยะเวลา 2 ปี ตามมาตรา 882 นับตั้งแต่วันที่เกิดวินาศภัยรวมถึงกรณีฟ้องร้องด้วย